ระเบียบ / กฏหมาย

ระเบียบ / กฏหมาย

กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1

รายละเอียดเกี่ยวกับ กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1

ระเบียบ / กฏหมาย

    (1) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการกำกับและติดตาม การปฏิบัติราชการในภูมิภาค พ.ศ. 2547 ข้อ 13 กำหนดว่าเพื่อประโยชน์ ในการประสานงานและความสะดวกในการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค ให้ส่วนราชการปรับปรุงการกำหนดเขตพื้น ที่ตรวจราชการให้สอดคล้องกับเขตตรวจราชการของสำนักนายกรัฐมนตร
    (2) คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2549 ได้พิจารณาว่า โดยที่สำนักงาน ก.พ.ร.ได้ดำเนินการพัฒนาระบบราชการ มาแล้วเป็นระยะเวลานานพอสมควรใน 3 เรื่องหลัก คือ
        (1. การปรับโครงสร้างระบบราชการ
        (2. การจัดองค์กรการบริหาร
        (3. การนำเครื่องมือ/เทคนิคการบริหารจัดการและการประเมินผลมาใช้จึงควรมีการ ประเมินผลการพัฒนาระบบราชการและการดำเนิน งานของสำนักงาน ก.พ.ร. ที่ผ่านมา โดยให้ทุกกระทรวงส่งข้อมูลความเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ เรื่องข้างต้นให้สำนักงาน ก.พ.ร. ภายใน 15 วัน แล้วให้สำนักงานงาน ก.พ.ร. ประมวลผลเสนอ รองนายกรัฐมนตรี(นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์)พิจารณาก่อนเสนอ คณะรัฐมนตรีต่อไป
    (3) ก.พ.ร. ในการประชุมเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2549 รองนายกรัฐมนตรี(นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์) ประธาน ก.พ.ร. ได้มอบหมายให้ สำนัก ก.พ.ร. ประมวลข้อคิดเห็นและข้อเสนอเกี่ยวกับการจัดโครงสร้างและระบบบริหารของส่วน ราชการต่างๆ แล้ววิเคราะห์นำเสนอ ก.พ.ร. และคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป
    (4) จากข้อความคิดเห็นของส่วนราชการและจังหวัดที่สำนักงาน ก.พ.ร. ได้รับในประเด็นที่เกียวข้องกับการจัดส่วนราชการในภูมิภาค ซึ่งรวมถึงราชการบริหารส่วนกลางที่ตั้งอยู่ในภูมิภาค มีประเด็นข้อเสนอ ว่าการจัดกลุ่มจังหวัดดังกล่าวไม่เหมาะสม ควรมีการทบทวน การจัดกลุ่มและการจัดจังหวัดภายในกลุ่มจังหวัดใหม่ เพื่อให้เกิดศักยภาพและการพัฒนาที่เป็นไปในทิสทางเดียว
    (5) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน(ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ได้บัญญัติเรื่องการบริหารราชการส่วนภูมิภาคให้มีการกำหนดอำนาจหน้าที่ของ จังหวัดและอำเภอ จัดตั้งงบงบประมาณของจังหวัดและอำเภอ จัดตั้งงบประมาณของจังหวัด จัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและกำหนดให้มีคณะกรรมการธรรมาภิบาล จังหวัดโดยมีสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการของกลุ่มจังหวัด โดยสรุป คือ
    มาตรา 52 วรรคสาม เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานแบบบูรณาการในจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัดให้ จังหวัดหรือกลุ่มจังหวัดยื่นคำขอ จัดตั้งงบประมาณได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ในกรณีนี้ให้ถือว่าจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัด เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
    มาตรา 53/1 ให้จังหวัดทำแผนพัฒนาจังหวัดให้สอดคล้องกับแนว ทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระดับชาติและความต้องการ ของประชาชนในท้องถิ่นในจังหวัด ในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดตามวรรคหนึ่งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดจัดให้มีการ ประชุมปรึกษา หารือร่วมกันระหว่างหัวหน้าส่วนราชการที่มีสถานที่ตั้งทำการอยู่ในจังหวัด ไม่ว่าจะเป็นการบริหารราชการส่วนภูมิภาคหรือการบริหาร ราชการส่วนกลาง และผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมดในจังหวัด รวมทั้งผู้แทนภาคประชาสังคมและผู้แทนภาคธุรกิจเอกชน การจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดตามวรรคหนึ่ง จำนวนและวิธีการสรรหาผู้แทนภาคประชาสังคม และผู้แทนภาคธุรกิจเอกชนตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา เมื่อประกาศใช้แผนพัฒนาจังหวัดแล้ว การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและการดำเนินกิจการของส่วนราชการและหน่วยงาน อื่นของรัฐทั้งปวงที่กระทำในพื้นที่จังหวัด สอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัดดัง กล่าว
    (6) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบ บูรณาการ ที่ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร ราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๐